อเล็กซานเดอร์ ฟาร์โต ได้เริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองโดยใช้ชื่อ Vhils ตั้งแต่เขาเป็นนักเขียนกราฟฟิติในช่วงต้นทศวรรษ 2000 แต่เขาก็ได้มาตระหนักว่า กำแพงที่เขาได้เพิ่มชั้นผลงานลงไปนั้นมีประวัติศาสตร์อยู่มากมาย และเขาก็มีส่วนในการปกปิดสิ่งเหล่านั้น ไม่เพียงแต่ซ่อนเครื่องหมายของเขาเท่านั้น แต่ยังซ่อนเรื่องราวของคนที่มาก่อนเขา ด้วยการปิดป้าย ทาสี หรือซ่อมแซมกำแพง แล้วทำไมไม่ช่วยให้กำแพงได้บอกเล่าเรื่องราวของมัน และแสดงชั้นที่ซ่อนอยู่ข้างใต้ ความคิดนี้เองที่ทำให้เขาเปลี่ยนงานของเขา และรื้อชั้นงานที่อยู่บนกำแพงออกไป
เทคนิคการสลักที่วิลส์คิดขึ้นมาใหม่นั้น จุดเริ่มต้นมาจากโครงการ Scratching the Surface ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่าเป็นวิธีการที่น่าสนใจมากในการสร้างงานศิลปะบนท้องถนนในทศวรรษที่ผ่านมา วิลส์บอกว่า ตอนนี้เขาวาดด้วยแรงบันดาลใจ ไม่ใช่แค่จากสิ่งที่เขาเห็นบนถนนเท่านั้น แต่จากสิ่งที่กำแพงได้เปิดเผยให้เขาเห็นด้วย การออกแบบของเขาเป็นไปตามสิ่งที่อยู่ข้างใต้ ขณะที่เขาเจาะสลักกำแพง และการเปิดเผยใหม่ ๆ ก็ทำให้งานศิลปะของเขาห่างไกลออกไปจากแผนที่เขาวางเอาไว้
ในเดือนกุมภาพันธ์ปี ค.ศ. 2017 (พ.ศ. 2560) วิลส์เดินทางมากรุงเทพฯ เพื่อสร้างผลงานสตรีทอาร์ตที่ไม่เหมือนใครของเขาบนกำแพงของสถานทูตโปรตุเกสที่มีประวัติมายาวนาน ซึ่งตั้งอยู่ในย่าน Creative District การออกแบบที่แสดงถึงความเป็นมนุษย์แสดงออกมาในใบหน้าและฉากในพื้นที่ ขณะที่ก็แสดงความคารวะให้กับรูปแบบโปรตุกีส และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันยาวนานหลายร้อยปีระหว่างไทย-โปรตุเกส งานของเขาเผยให้เห็นก้อนอิฐสมัยอยุธยาและก้อนคอนกรีตที่ใช้ซ่อมแซมรูโหว่จากอุบัติเหตุรสบัสชนกำแพง ทำให้พื้นที่บางรักในตอนนี้ ซึ่งเดิมก็เต็มไปด้วยศิลปะแนวสตรีทอาร์ต “BUKRUK (บุกรุก)” มีส่วนเติมเต็มที่มีค่ามากกับท้องถนนที่นั่นเพิ่มขึ้นมาอีก
คุณสามารถชมผลงานของวิลส์ได้บนกำแพงของสถานทูตโปรตุเกส ในซอยเจริญกรุง 30
โครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง สถานทูตโปรตุเกสและศูนย์วัฒนธรรมโปรตุเกสภายใต้การสนับสนุนของไมเนอร์ กรุ๊ป และสถาบันกามอยช์