อุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

ในปีพ.ศ. 2443 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเสด็จพระราชสมภพที่จังหวัดนนทบุรี ในครอบครัวสามัญชนที่มีอาชีพเป็นช่างทอง พระองค์ทรงมีมีพระนามเดิมว่า สังวาลย์ ตะละภัฏ และทรงเป็นหนึ่งในหญิงไทยรุ่นแรกที่ได้รับการศึกษาให้มีความสามารถในการเขียนและอ่าน ต่อมาทรงได้รับการคัดเลือกให้ทรงไปศึกษาวิชาพยาบาล ที่สหรัฐอเมริกา สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมขุนสงขลานครินทร์ ขณะนั้นกำลังทรงศึกษาวิชาแพทย์ ปีที่ ๑ ที่โรงเรียนแพทย์มหาลัยฮาร์วาร์ด ทรงพบและพอพระทัยสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในพระศิริโฉมงดงาม พระอุปนิสัย และพระคุณสมบัติอื่นๆ จึงทรงมีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งเป็นพระราชมารดา ขอพระราชทานพระราชานุญาตหมั้นกับนางสาวสังวาลย์และมีพิธีอภิเษกสมรสในภายหลัง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้ประสูติพระราชโอรสธิดาสามพระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (ร. 8) และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  (ร. 9)  ตามลำดับ

สมเด็จย่า หรือสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย ทรงเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ที่ยกย่องทางด้านการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง รู้จักทดแทนบุญคุณต่อแผ่นดิน พระองค์ทรงมีพระอุตสาหวิริยะสูงในการทำงาน ทรงทำเพื่อประโยชน์ของปวงชนชาวไทยทุกหมู่เล่า ตั้งแต่เหนือสุด จรดใต้สุดของประเทศ ต่างได้รับพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ได้ทรงจัดตั้งหน่วยานและมูลนิธิสำคัญๆ ทั้งนี้พระองค์ทรงโปรดธรรมชาติเป็นอย่างมาก โดยได้ริเริ่มโครงการต่างๆ ที่อนุรักษ์ธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เช่น โครงการพัฒนาดอยตุง

ในปี 2538 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เสด็จสู่สวรรคาลัย  ยังความโศกเศร้าอาลัยอย่างสุดซึ้งแก่พสกนิกรทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักร ต่อมาในปี 2540 อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯแห่งนี้ได้เปิดทำการเป็นสวนสาธารณะพระราชทาน ที่ในหลวงทรงพระราชทานให้กับพสกนิกรชาวไทย ได้น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จย่า และมีพระราชประสงค์ที่จะให้อนุรักษ์ไว้เป็นพิพิธภัณฑ์เทิดพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และพัฒนาพื้นที่เป็นสวนสาธารณะระดับชุมชน เพื่อให้ประชาชนทุกเพศทุกวัยใช้พักผ่อนหย่อนใจ ฟื้นฟูสุขภาพ ร่วมชุมนุมประกอบพิธี หรือ กิจกรรมรื่นเริงตามเทศกาลต่างๆ และเป็นแหล่งศึกษาพันธุ์ไม้ ซึ่งนายแดง นานา และนายเล็ก นานา ผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินได้

Explore Categories

Choose a category to explore

Choose a pier

Choose a type of venue

Choose an option

Choose a location