ห้องสมุดเนียลสัน เฮย์ส (Neilson Hays Library)

Operating Hours

9:30 am - 5:00 pm, Tue - Sun

ต้นกำเนิดของห้องสมุดเนียลสัน เฮย์ส มาจากการริเริ่มอันมุ่งมั่นที่นำโดยผู้หญิงคนหนึ่งและสามีของเธอก็รับรู้ทั้งหมด รวมทั้งปรารถนาจะรำลึกถึงความสำเร็จของเธอ

ห้องสมุดเนียลสัน เฮย์ส เป็นโอเอซิสสำหรับร่างกายและจิตใจที่ไม่เป็นที่รู้จักนักในกรุงเทพฯ อันแสนวุ่นวาย ห้องสมุดถือว่าหาได้ยากในเมืองหลวงของประเทศไทยแห่งนี้ และห้องสมุดเนียลสัน เฮย์ ก็ไม่ใช่แค่ศูนย์รวมหนังสือเท่านั้น แต่ยังเป็นหนังสือภาษาอังกฤษทั้งหมดด้วย เมื่อคุณเดินเข้ามาในบริเวณของห้องสมุด คุณจะพบกับสนามที่เต็มไปด้วยต้นไม้ในทันที ซึ่งเป็นความแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากป่าคอนกรีตแห่งนี้ ตัวอาคารห้องสมุดเอง ทั้งด้านในและด้านนอก ก็เป็นสิ่งที่น่ามหัศจรรย์เช่นกัน แต่การที่จะชื่นชมการมีอยู่ของห้องสมุดแห่งนี้ได้อย่างเต็มที่ คุณควรจะรู้ประวัติของห้องสมุดเสียก่อน

ในปี ค.ศ. 1869 เมื่อกรุงเทพฯ ยังไม่เจริญเป็นเมืองใหญ่เช่นนี้ กลุ่มสตรีชาวอังกฤษและอเมริกัน 13 คน ได้เริ่มก่อตั้ง สมาคมห้องสมุดสตรีกรุงเทพ โดยหวังว่าจะสร้างสถานที่ซึ่งเป็นห้องสมุดที่แท้จริง ซึ่งทุกคนสามารถแบ่งปันหนังสือกันได้ แรกเริ่มนั้น หนังสือจะเก็บอยู่ตามบ้าน และต่อมาก็เก็บไว้ที่โบสถ์ สมาคมและกิจกรรมของสมาคมเติบโตขึ้นจนถึงจุดที่มีการตัดสินใจว่าจะต้องมีสถานที่เก็บหนังสือแบบถาวรไว้ที่เดียว ในปี ค.ศ. 1914 จึงมีการซื้อที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของห้องสมุดในปัจจุบัน และมีการก่อสร้างอาคารอย่างง่าย ๆ ขึ้นเป็นครั้งแรก

เจนนี่ เนียลสัน เฮย์ส มิชชันนารีชาวเดนมาร์ก เป็นหนึ่งในสมาชิกที่กระตือรือร้นที่สุดของสมาคม และเป็นประธานสมาคมถึง 3 สมัย ในปี ค.ศ. 1920 เธอเสียชีวิตลงและดอกเตอร์ โทมัส เฮย์วูด เฮย์ส ก็ตัดสินใจที่จะสร้างห้องสมุดขึ้น เพื่อรำลึกถึงชีวิตของภรรยา อาคารห้องสมุดเดิมถูกปรับปรุงและออกแบบใหม่โดย มารีโอ ตามัญโญ (ซึ่งเป็นผู้ออกแบบหัวลำโพง) ผลก็คือ อาคารอันโอ่อ่าดังที่เห็นในปัจจุบัน สไตล์นีโอคลาสสิกนั้นเห็นได้ชัดจากเสาและลายปูนฉาบที่ตกแต่งอยู่ จุดเด่นก็คือ โดมสไตล์อิตาเลียนที่สวยงาม ซึ่งเคยเป็นทางเข้าอันโอ่อ่า และขณะนี้กลายเป็นหอศิลป์ที่โดดเด่น

Explore Categories

Choose a category to explore

Choose a pier

Choose a type of venue

Choose an option

Choose a location