ย้อนกลับไปกลางศตวรรษที่ 19 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (พ.ศ.2394-2411) ได้ทรงประกาศว่าชาวจีนที่อาศัยอยู่ในกรุงรัตนโกสินทร์ขณะนั้นควรหยุดการขยายตัวทางทิศใต้ที่ตลาดน้อย และทรงอนุญาตให้ชาวยุโรปตั้งถิ่นฐานในย่านบางรัก ซึ่งชาวยุโรปก็ได้ขอให้ทรงสร้างถนนให้ เพื่อที่จะเดินทางได้สะดวกสบายอย่างที่คุ้นเคย จึงกลายมาเป็นถนนสายแรกของกรุงเทพ คือ เจริญกรุง หลังจากนั้น ย่านบางรักก็เปลี่ยนแปลงไปตามช่วงเวลา และกลายเป็นแหล่งของอาคารประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ถ้าจะให้ไล่เรียงก็มีทั้ง
กรุงเทพฯ ในยุครุ่งเรืองหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขยายตัวออกมาทางทิศตะวันออก เริ่มจากสีลมไปสยาม จากนั้นก็ไปถึงสาทรและสุขุมวิท ขณะที่ถนนเจริญกรุงซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ ถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง คนรุ่นต่อมาที่เคยอยู่ที่ตลาดน้อยและบางรัก ต่างก็ย้ายออกไปยังย่านชานเมืองใหม่ ทิ้งพ่อแม่เอาไว้ โชคดีที่การพัฒนาพื้นที่ใหม่ ๆ ในกรุงเทพฯ หมายถึง ย่านแถบริมแม่น้ำแทบจะไม่ถูกแตะต้อง คุณจึงยังสามารถพบเห็น
บ้านและร้านรวงสวย ๆ แบบดั้งเดิมตามซอยต่าง ๆ ที่อยู่บนถนนเจริญกรุงได้
ที่บางรักทุกวันนี้ คุณจะได้พบกับชุมชนเก่า 3 ชุมชนที่ยังคงอาศัยอยู่ในย่านนั้น
ถ้าคุณสนใจที่จะรู้เรื่องราวมากขึ้น ทำไมไม่ลองไปเดินเที่ยวในบางรักโดยมีไกด์นำทางกับ Bangkok Walking Adventures ดูล่ะ